วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อนุกรมเรขาคณิต

บทนิยามอนุกรมเรขาคณิต

     
อนุกรมที่ได้จากลำดับเรขาคณิต   เรียกว่า อนุกรมเรขาคณิตและอัตราส่วนร่วมของลำดับเรขาคณิตจะเป็นอัตราส่วนร่วมของอนุกรมเรขาคณิตด้วย


กำหนด      a1,    a1r,    a1r2,   …,   a1n-1   เป็นลำดับเรขาคณิต
จะได้          a1    +  a1r  +  a1r + … + a1n-1  เป็นอนุกรมเรขาคณิต
ซึ่งมี       a1 เป็นพจน์แรก  และ  r  เป็นอัตราส่วนร่วมของอนุกรมเรขาคณิต
จากบทนิยาม  จะได้ว่า ถ้า  a1,   a2,   a3,   …,   a  เป็น ลำดับเรขาคณิต ที่มี n  พจน์

จะเรียกการเขียนแสดงผลบวกของพจน์ทุกพจน์ของลำดับในรูป
 a1  +  a +  a3 +  …  +  an     ว่า  อนุกรมเรขาคณิต 
และอัตราส่วนร่วมของลำดับเรขาคณิต จะเป็นอัตราส่วนร่วมของอนุกรมเรขาคณิตด้วย

                                                                                                 Next                                                                                                                                                                                                                                   

ความหมาย


 ความหมายของอนุกรมเรขาคณิต
           อนุกรมที่ได้จากลำดับเรขาคณิต   เรียกว่า อนุกรมเรขาคณิต  และอัตราส่วนร่วมของลำดับเรขาคณิตจะเป็นอัตราส่วนร่วมของ อนุกรมเรขาคณิตด้วย
             กำหนด      a1,    a1r,    a1r2,   …,  a1n-1  เป็นลำดับเรขาคณิต

               จะได้       a1    +  a1r  +  a1r2  + … + a1n-1    เป็นอนุกรมเรขาคณิต

               ซึ่งมี        a1 เป็นพจน์แรก  และ  r  เป็นอัตราส่วนร่วมของอนุกรมเรขาคณิต
ตัวอย่างของอนุกรมเรขาคณิต

                        1.   2 + 4 + 8 + 16 + …                       เป็น อนุกรมเรขาคณิต
                                เพราะ  2,  4,  8,  16,  …               เป็น ลำดับเรขาคณิต
                                และมีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ  2
                        2.   81 + 27 + 9 + 3 + …                     เป็น อนุกรมเรขาคณิต  
                                เพราะ  81,  27,  9,  3,  …            เป็น ลำดับเรขาคณิต  
                               และมีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ
                        3.  3 + 3 + 3 + 3 + …                           เป็น อนุกรมเรขาคณิต
                                เพราะ  3,  3,  3,  3,  …                  เป็น ลำดับเรขาคณิต
                                และมีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ  1

 รูปแบบของอนุกรมเรขาคณิต

   เมื่อ a,r เป็นค่าคงที่ a0 และ r อาจเป็นได้ทั้งค่าบวกและลบ
                                           เรียกว่า r ว่า อัตราส่วนร่วม (Common Ratio)


ตัวอย่างอนุกรมเรขาคณิตที่เป็นอนุกรมลู่เข้าหรือลู่ออก


ตัวอย่าง 7 จงแปลงทศนิยมไม่รู้จบแบบซ้ำต่อไปนี้ให้อยู่ในรูปแบบเศษส่วนโดยใช้ความรู้เรื่องอนุกรมเรขาคณิต
1. 0.777…    2. 0.7888…


  


Back                                                                                                     Next

การหาผลบวก n พจน์แรก

    การหาผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต

    ให้     Sn          แทนผลบวก   n   พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต
                            ซึ่งมี      a    เป็นพจน์แรก และ   r    เป็นอัตราส่วนร่วม
                            Sn       =     a1    +    a1r + a1r2  + … + a1n-2+ a1n-1            --- (1)
                            สมการ (1) คูณ  r  จะได้
                            rS     =     a1r + a1r2+ a1r3 + … + a1n-2+ a1n-1 +  a1n  --- (2)
                            สมการ (1) – (2)  จะได้
                           S –  rSn     =    a1-a1rn
                           (1 –  r)Sn     =    a1(1-rn)
            

    สรุป   ผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต

                

      เมื่อ     S  แทนผลบวก   n   พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต

                       a   แทนพจน์ที่ 1
                       a   แทนพจน์ที่   n
                         r    แทนอัตราส่วนร่วม  พจน์ที่ n+1 หารด้วยพจน์ที่ n


    Back                                                                                         Next

การแก้โจทย์ปัญหา

การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอนุกรมเรขาคณิต


ตัวอย่างที่ 1  อนุกรมเรขาคณิต   3   +   6   +   12   +   … จะต้องบวกกันกี่พจน์  จึงจะได้ผลบวกเป็น 765 
แนวคิด         กำหนด อนุกรมเรขาคณิต  3   +   6   +   12   +   …    =    765
                       ถามว่าจะต้องบวกกันกี่พจน์ คือหาค่า n  เมื่อ Sn  =  765
แก้ปัญหา       อนุกรมเรขาคณิต มี     a1 = 3, r = 2, S= 765
                       หาค่าของ n จะต้องใช้สูตร
                                 
สรุป           อนุกรมนี้จะต้องบวกกัน    8    พจน์

ตัวอย่างที่ 2  อนุกรมเรขาคณิตอนุกรมหนึ่ง มี พจน์แรกเท่ากับ 3    และ พจน์ที่ n  เท่ากับ 96   
                       และ ผล   บวก  n  พจน์แรก เท่ากับ 189 จงหาผลบวกของ 10 พจน์แรกของอนุกรมนี้

   แนวคิด     โจทย์กำหนด พจน์แรกเท่ากับ 3, พจน์ที่ n  เท่ากับ 96 และผลบวก n พจน์แรก
                       เท่ากับ 189 ถามผลบวกของ 10 พจน์แรกของอนุกรมนี้

  แก้ปัญหา   หาอัตราส่วนร่วม( r) ก่อนแล้วจึงหา  S10

สรุป             ผลบวกของ 10 พจน์แรกของอนุกรมนี้ คือ  3,069

Back                                                                                                   Next

แบบฝึกหัด

เรื่อง อนุกรมเรขาคณิต


1. จงหาผลบวก พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต เมื่อกำหนดให้

          n = 4 , a1 = 3 , r = 2

   จากสิ่งที่ โจทย์ กำหนดให้เราสามารถหาอนุกรมเรขาคณิต ได้ดังนี้

                                                                    
2. จงหาผลบวก พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต 

       2+6+18+54+ …

 จากอนุกรมเรขาคณิต เราจะได้ 


 ดังนั้น ผลบวก พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต คือ

3. จงหาผลบวก พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต

จากอนุกรมเรขาคณิต เราจะได้

ดังนั้น ผลบวก พจน์แรกของอนุกรมเรขาคณิต คือ



Back                                                                                 Next 



แหล่งอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ.  หนังสือแบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ค 015.    
                  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว2533.
ทรงวิทย์  สุวรรณธาดา.  คณิตศาสตร์พื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1 ภาคเรียนที่1
                 กรุงเทพฯ :  แม็ค, 2546.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กระทรวงศึกษาธิการ. คณิตศาสตร์  ค015 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524
                (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)  กรุงเทพฯ :  องค์การค้าคุรุสภา2536


Back                                                                                                  Next